โรคเลปโตสไปโรซิส (โรคไข้ฉี่หนู )
เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์หลายชนิด เช่น วัว ควาย หนู หมู หมา แพะ แกะ โดยมีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ โรคเกิดได้ตลอดปี แต่พบมากช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว เกษตรเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุด
โรคแพร่ติดต่อได้อย่างไร
เชื้อโรคอยู่ในไตของสัตว์นำโรคและออกมาทางปัสสาวะของสัตว์ คนติดเชื้อจากการสัมผัสปัสสาวะสัตว์โดยตรงหรือติดทางอ้อมจากแหล่งน้ำ ทุ่งนา แอ่งน้ำ หรือน้ำท่วมขังที่ปนเปื้อนเชื้อ บางครั้งเกิดจากการกินน้ำหรืออาหารที่หนูปัสสาวะรด การติดเชื้อโดยหายใจเอาละอองฝอยน้ำเข้าไปพบได้น้อย เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลรอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง หรือเข้าเยื่อบุของตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำนานจนอ่อนนุ่น
อาการในผู้ป่วย
มักเริ่มมีอาการหลังรับเชื้อประมาณ 4 ถึง 11 วัน โดยมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศรีษะ และปวดกล้ามเนื้อมาก ปวดน่อง ตาแดง
ถ้าไม่รีบรักษา บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนังไอมีเลือดปน หรือตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซีม สับสน เนื่องจากเยื่อหุ้มสมอง อักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได
การป้องกันโรค
1. สวมรองเท้าบู๊ทยากันน้ำ หากต้องลุยน้ำ ย่ำโคลน โดยเฉพาะถ้ามีบาดแผล
2. หากจำเป็นต้องลงแช่น้ำในคูคลอง ไม่ควรแช่น้ำนานจนตัวซีด เมื่อขึ้นจากน้ำแล้ว ต้องรีบอาบชำระร่างกายให้สะอาดโดยเร็วที่สุด
3. สวมรองเท้าเวลาต้องเดินบนดิน ทรายที่ชื้นแฉะและหมั่นล้างเท้าให้สะอาด
4. ปกปิดอาหารไม่ให้หนูปัสสาวะรด
5. หมั่นล้างมือทุกครั้งหลังจับต้องซากสัตว์และสัตว์
การควบคุมโรค
1. ช่วยกันลดจำนวนหนูบ้าน หนูนา
2. รักษาความสะอาดบ้านเรือน ไม่ให้เป็นที่อยู่ของอาศัยของหนู
3. ปิดฝาถังขยะ หมั่นกำจัดขยะโดยเฉพาะเศษอาหารทุกวัน ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู
4. ป้องกันไม่ให้หนูมาทำรัง โดยทำคันนาให้เล็ก และหมั่นถางหญ้าไม่ให้รก
5. ดูแลบริเวณบ้านเรือนและที่เลี้ยงสัตว์ให้แห้ง ไม่ให้มีแอ่งน้ำขังเฉอะแฉะ
6. ถ้าสัตว์ที่เลี้ยงไว้ป่วย ต้องแจ้งสัตวแพทย์มารักษาโดยเร็ว
แหล่งที่มา
http://www.ku.ac.th/e-magazine/oct49/know/leptospirosis.htm